ค้นหาบล็อกนี้

25 พฤศจิกายน 2553

โปรแกรม Snaglt 9
Snaglt 9 เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับใช้ในการจับภาพหน้าจอ ซึ่งมีความสะดวกในการจัดเก็บไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น การจัดเก็บไฟล์ข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของ TIFF สำหรับงานประเภทสิ่งพิมพ์ และรูปแบบ GIF, JPEG หรือ PNG สำหรับการใช้งานด้านการออกแบบสร้างเว็บเพจ และนอกจากนี้ยังมีความสามารถในการจัดเก็บภาพจากเกม หรือวีดิโอ ซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยการกดปุ่ม Print screen

Snagit มีอะไรบ้าง

1.คือถ่ายภาพแบบลากส่วนที่จะถ่ายเอง
2.ถ่ายเฉพาะหน้าต่าง
3.ถ่ายแบบเต็มจอหรือ Full Screen
4.ถ่ายแบบหน้าต่างตั้งแต่บนลงมาใช้ส่วนใหญ่กับเว็บเพจ
5.ถ่ายเมนูนับถอยหลังถ่าย
6.ถ่ายข้อความทั้งหน้าต่าง
7.ลากส่วนที่จะถ่าย VDO เอง
8.ถ่ายภาพจากเว็บเพจ
9.ถ่ายหน้าเว็บเฉพาะลิงค์
10.ถ่ายเฉพาะส่วน [Object]

หน้าต่าง Capture Preview
ในหน้าต่าง Capture Preview ใช้สำหรับแสดงภาพตัวอย่าง และแก้ไขภาพก่อนที่จะทำการส่งหรือบันทึกซึ่งส่วนประกอบหลักของโปรแกรม Snaglt ในหน้าต่าง Capture Preview มีดังนี้

1. Done ใช้ในการปิดหน้าต่าง Capture Preview
2. Output Option ทำการบันทึกภาพ หรือจัดการกับภาพตามที่ผู้ใช้ต้องการ
3. Paint Tools ใช้ในการวาด, ระบายสี, ทำ highlight, การเขียน text ฯลฯ
4. Tasks Pane ใช้ในการใส่เทคนิคพิเศษ , การกำหนดขนาด สี และรูปแบบต่างของภาพ หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการจับภาพ

Snagit 9 โปรแกรมจับภาพหน้าจอที่สมบูรณ์แบบที่สุด
โปรแกรมจับภาพหน้าจอที่สมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้ท่านสามารถจับภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของท่านเองได้ทุกรูปแบบ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ
Snag IT นำเสนอวิธี ในการจับภาพ รูป ตัวอักษร และวีดีโอ หรือจะจับภาพทั้ง เว็บไซต์ จนถึงการจับภาพแบบลักษณะ Record Video ซึ่งนับว่า เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจอีกตัวนึงเลยทีเดียว แถมยังได้รับรับรางวัลของ PC Magazine Editors Choice " Best of the year 2003 " และ รางวัลอื่นอีกหลายรางวัล ที่เป็นเครื่องยืนยันคุณภาพได้

ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=senior-kissi&date=10-09-2008&group=4&gblog=10
http://www.culi.chula.ac.th/tic/snagit.pdf

ทฤษฎีรหัสคู่กับสื่อมัลติมีเดีย

สื่อมัลติมีเดีย

สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)

สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวิดีทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan. 1993)

สื่อมัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสรร ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้คีย์บอร์ด (Key board) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) (Hall. 1996)

ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของสื่อมัลติมีเดียได้ว่า สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ที่มา http://learning.pitlokcenter.com/captivate/train-meaning.htm

ทฤษฎีรหัสคู่

ทฤษฎีรหัสคู่ หรือ Dual Coding Theory คือทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องกระบวนการรับรู้

ที่พัฒนาขึ้นโดย Allan Paivio โดยมีสมมติฐานที่ว่าข้อมูลภาพ (Visual) และข้อมูลที่ประกอบด้วย

คำพูด (Verbal) จะถูกประมวลผลในช่องทางสื่อสารที่ต่างกัน โดยข้อมูลจะถูกใส่รหัสหรือแปลง

เป็นสัญลักษณ์ก่อนที่จะนำไปประมวลผลต่อ ทั้งรหัสภาพและรหัสคำพูด คือสิ่งแทนข้อมูลที่จะถูกนำไปจัดระเบียบเป็นความรู้ เพื่อให้สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ จัดเก็บและนำกลับมาใช้ได้อีก

การศึกษาวิจัยของ Paivio มีความสำคัญต่อวงการศึกษาในหลายๆ แง่มุม อาทิเช่น

ความสามารถในการอ่านการเขียน เทคนิคที่ช่วยในการจดจำสิ่งที่มองเห็นได้ การถ่ายทอดความคิด

การออกแบบอินเตอร์เฟส รวมไปถึงการพัฒนาสื่อทางการศึกษา เช่นงานวิจัยของตัวเขาเองที่แสดง

ให้ว่า การจดจำข้อมูลที่เป็นลำดับต่อเนื่อง สมองจำคำ (ข้อความ) ได้ดีกว่าภาพ

Rieber (1996 : 5-22) อธิบายในงานวิจัยที่เกี่ยวกับทฤษฎี Dual Coding Theory ว่า

โดยทั่วไปงานวิจัยให้ข้อสรุปว่า ภาพ (Graphic) จะช่วยในการจดจำแนวคิดที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า

คำ (Words) ซึ่งในทฤษฎี Dual Coding Theory ได้ให้คำอธิบายสองประการเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ

1. ข้อมูลที่ถูกใส่รหัสที่ประกอบด้วยคำพูด (Verbal) หรือประกอบด้วยลักษณะที่

มองเห็นได้ (Visual) อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกของการจำได้ หรือก็

คือถ้าข้อมูลถูกใส่รหัสที่ประกอบด้วยคำพูดและข้อมูลที่มองเห็นได้ จะทำให้โอกาสในการเรียก

คืนความทรงจำเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

2. ภาพ (Visual) และคำ (Verbal) สามารถไปกระตุ้น การประมวลผลทางจิตใจ

หลายรูปแบบ จากสมมติฐานตามทฤษฎีนี้จึงอาจสรุปได้ว่า การใช้ภาพและคำทั้ง 2 อย่างในลักษณะ

ที่สอดคล้องกัน จะช่วยให้เกิดผลทางบวกมากขึ้นและยังช่วยให้เรียกคืนความทรงจำได้ดีขึ้น

ที่มา http://www.mediaartsdesign.org/cms/data/upimages/4640653Ch2.pdf